เมนู

ก็ไม่ใช่ความว่า คจฺฉนฺเตสุ คำนั้น ไม่พึงถือเอาแต่แง่เดียว เหมือนอย่าง
ว่าในคำว่า อริยา นยฺยานิกา นี้ มีความว่า นิยฺยนฺตา ไม่ใช่มีความว่า
นิยฺยาตพฺพา ฉันใด แม้ในที่นี้ ก็มีความว่า คจฺฉนฺเตสุ ไม่ใช่มีความว่า
คนฺตพฺเพสุ ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้นี้ ประสงค์จะให้แก่ใคร ๆ ในเวลาจะตาย
ก็จับต้องโภคะให้ไม่ได้ ฉะนั้น โภคะเหล่านั้น อันเขาจำต้องละไปทางกายก่อน
ภายหลัง จึงจำต้องจากไปทางใจที่หมดหวัง ท่านอธิบายว่า. พึงล่วงเลยไป
เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้อง
ละไปทางกายก่อน ภายหลัง จึงต้องละไปทางใจ. ในความข้อต้น สัตตมี-
วิภัตติ ลงในนิทธารณะว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไป เขาก็นำโภคะ
คือบุญนิธินั้นอย่างเดียวเท่านั้น ออกจากโภคะทั้งหลาย พาไป. ในความข้อ
หลัง สัตตมีวิภัตติ ลงในภาวลักขณะ โดยภาวะว่า ก็โดยภาวะที่โภคะทั้งหลาย
ติดตามไป ก็ย่อมกำหนดภาวะคือขุมทรัพย์นั้นพาไปด้วยได้.

พรรณนาคาถาที่ 9


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงความต่างของบุญนิธินี้ จากขุม-
ทรัพย์ที่เขาฝังไว้ในที่ลึก มีน้ำเป็นที่สุด เมื่อทรงยังอุตสาหะให้เกิดแก่เทดา
และมนุษย์ทั้งหลายในบุญนิธินั้น ด้วยการพรรณนาคุณบุญนิธิที่ทรงแสดงด้วย
พระองค์อีก เหมือนพ่อค้าผู้ค้าสินค้าอันโอฬาร ยังอุตสาหะให้เกิดแก่คนซื้อ
ด้วยการพรรณนาคุณสินค้าของตนฉะนั้น จึงตรัสว่า
บุญนิธิคือขุมทรัพย์ ไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น
โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้
ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.